เพราะสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน... การมีสุขภาพกายที่ดี ย่อมส่งผลให้มีสุขภาพใจที่ดี และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
การให้บริการในศูนย์อาชีวเวชศาสตร์
การตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวศาสตร์ (Occupational Health Examination) คือการตรวจสุขภาพใดๆก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการทำงานให้กับคนทำงาน ดังนี้
1. การตรวจสุขภาพคนเรือ
- ตรวจสุขภาพคนประจำเรือ(Seafarer) และออกใบรับรองแพทย์คนประจำเรือตาม พ.ร.บ.แรงงานทางทะเล พ.ศ.2558
- ตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความพร้อมสำหรับทำงานกับบริษัท ปตท.สผ. โดยแพทย์แต่งตั้งของ ปตท.สผ.(PTTEP Approved Doctor ;PAD)
- ตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับทำงานในธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติตามมาตรฐาน Oil and Gas United Kingdom (OGUK)
- ตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความพร้อมสำหรับปฎิบัติงานนอกชายฝั่ง(Offshore worker) เช่น คู่สัญญาบริษัท Chevron,Petronas
2. การตรวจสุขภาพเพื่อประเมินความพร้อมสำหรับการทำงานในที่อับอากาศทำงานในที่สูง ขับขี่เชิงพาณิชย์ หรือผู้ประกอบอาหาร
3. การตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน(Pre-employment examination)
4. การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน(Pre-placement examination)
5. การตรวจสุขภาพตามระยะหรือการตรวจสุขภาพประจำปี (Periodic or Annually health examination ) และบริการสรุปรายงานผลตรวจสุขภาพของบุคลากรในองค์กรหรือสถานประกอบในภาพรวมเพื่อให้สถานประกอบการใช้เป็นข้อมูลในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
6. การตรวจประเมินความพร้อมในการทำงาน (Fitness for work examination )
7. การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน (Return to work examination)
8. การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณ (Retirement examination)
9. การตรวจไปต่างประเทศ
10. การตรวจสุขภาพแรงงานต่างประเทศ (ตามเอกสารของกรมจัดหางาน)
11. การตรวจสุขภาพเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ (ตามเอกสารของสถาบันการศึกษานั้นๆ) เช่น โครงการ AFS
12. การตรวจสุขภาพเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์
13. การตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน
14. การตรวจสุขภาพเพื่อขอรับใบรับรองแพทย์ใบขับขี่
การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion)
- การฉีดวัคซีน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่แข็งแรง
การรักษา
- วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาและรักษาโรคจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม และโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ทีมแพทย์เฉพาะทางและสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญ
การฟื้นฟู
- การประเมินการสูญเสีย
- การประเมินความพร้อมให้พนักงานก่อนกลับเข้ามาทำงาน ในกรณีที่มีการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย(Return to work examination)
- จัดโปรแกรมและให้คำแนะนำการจัดโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง ตรวจทำงานลงที่อับอากาศ ตรวจ OFF SHORE
การเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
- ควรงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6 - 12 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโปรแกรมการตรวจสุขภาพ แต่ละโปรแกรม
- ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบายหลวมๆ แขนสั้นหรือแขนยาวที่สามารถพับแขนได้ เพื่อสะดวกในการเจาะเลือดและตรวจร่างกาย
- ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนเสข้ารับการตรวจสุขภาพ
- สำหรับสุภาพสตรีที่ต้องการตรวจภายใน ควรตรวจหลังจากการมีประจำเดือนอย่างน้อย 1 สัปดาห์
- ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจมะเร็งเต้านม คือ ช่วงวันที่ 1 -7 วัน หลังวันหมดประจำเดือน
- หากสงสัยว่าตั้งครรคภ์ กรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนตรวจ
- การเก็บปัสสาวะ ควรมาเก็บที่โรงพยาบาล โดยปัสสาวะทิ้งไปในช่วงแรก และเก็บปัสสาวะส่วนกลาง ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้แน่น
- สุภาพสตรีที่อยู่ระหว่างการมีประจำเดือนหรือประจำเดือนหยุดไม่เกิน 7 วัน กรุณาแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจหรือเจ้าหน้าที่รับทราบ เพราะผลตรวจอาจคลาดเคลื่อนได้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.074-200200 ต่อ 250 , 149