โรคต่อมลูกหมากโต หรือ BPH (Benign Prostate Hyperplasia)
นพ.สมชัย ลิ่มสุวรรณ | 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14:35
พบในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และโดยเฉพาะในผู้ชายสูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไปพบมากถึง 80%
นพ.สมชัย ลิ่มสุวรรณ | 29 พฤศจิกายน 2566 เวลา 14:35
พบในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และโดยเฉพาะในผู้ชายสูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไปพบมากถึง 80%
พบในผู้ชายอายุ 45 ปีขึ้นไป และโดยเฉพาะในผู้ชายสูงวัยอายุ 70 ปีขึ้นไปพบมากถึง 80%
อาการของโรคต่อมลูกหมากโต
รักษาโรคต่อมลูกหมากโต วิธีการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต แบ่งออกเป็น
1.การใช้ยา
1.1 การใช้ยาช่วยขยายท่อปัสสาวะ
ได้แก่ ยาต้านระบบประสาทอัลฟ่า (Alpha Blocker) ซึ่งยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อต่อมลูกหมากและกล้ามเนื้อหูรูดที่คอกระเพาะปัสสาวะ มีผลทำให้ถ่ายปัสสาวะได้คล่องขึ้น
โดยตัวยาบางตัวอาจจะมีผลต่อความดันโลหิต หรือทำให้น้ำอสุจิไม่พุ่งได้
1.2 ยาช่วยลดขนาดต่อมลูกหมาก
ได้แก่ ยายับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Alpha Reductase Inhibitors) มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone)
เมื่อได้รับยาแล้วจะทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลงได้ประมาณ 30% โดยตัวยาบางตัวอาจจะมีผลต่ออารมณืทางเพศและการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้
2.การผ่าตัดส่องกล้องขูดต่อมลูกหมาก (Transurethral Resection of the Prostate : TURP ) โดยแพทย์จะใช้กล้องส่องผ่านท่อปัสสาวะ
จากนั้นแพทย์จะตัดหรือขูดต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ และหยุดเลือดด้วยไฟฟ้า โดยการผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 60 นาที ซึ่งจำเป็นต้องดมยาสลบ
และหลังผ่าตัดจำเป็นต้องใส่สายสวนปัสสาวะและกดหยุดเลือด หลังจากนั้นเอาสายสวนออก ใช้เวลาพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 3-4 วัน
3.การผ่าตัดต่อมลูกหมากด้วยไอน้ำ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือและกล้องสอดผ่านท่อปัสสาวะ เข้าไปยังต่อมลูกหมาก หลังจากนั้นแพทย์จะฉีดไอน้ำลเข้าไปในต่อมลูกหมากประมาณ 4-6 ครั้ง
ไอน้ำจะกระจายเข้าไประหว่างเซลล์ของต่อมลูกหมาก ทำให้ตายไป (Apoptosis) และร่างกายจะกำจัดเซลล์ที่ตายออกไปตามธรรมชาติ ในที่สุดต่อมลูกหมากจะหดตัวมีขนาดเล็กลงและท่อปัสสาวะจะกว้างขึ้น
ทำให้ปัสสาวะได้เป็นปกติ โดยเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่ต้องดมยาสลบ เสียเลือดน้อย ไม่มีผลกระทบด้านเพศสัมพันธ์ และใช้เวลาไม่นานประมาณ 10-15 นาที