โรคมะเร็งสตรี รู้ก่อน... ป้องกันได้
ฝ่ายการตลาด | 2 เมษายน 2564 เวลา 16:15
มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของสตรีไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากการละเลยไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งสตรี
ฝ่ายการตลาด | 2 เมษายน 2564 เวลา 16:15
มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของสตรีไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากการละเลยไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งสตรี
ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งให้รู้ก่อน..ช่วยเพิ่มโอกาสรอด
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ทางการแพทย์นิยมใช้ เนื่องจากเป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ก่อนเป็นโรคจนถึงระยะเริ่มต้น แม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการที่แสดงออกมา ส่งผลให้มีอัตราการอยู่รอดจากโรคมะเร็งภายหลังการรักษาเพิ่มขึ้น หรือสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้มากขึ้น
โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะมีความถี่ในการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening) การตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการทำเอกซเรย์หรือที่เรียกว่าการตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) ผู้ป่วยที่มีปัจจัยความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย ไม่มีบุตร เคยได้รับการฉายรังสีที่เต้านม ซึ่งแพทย์ได้แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป เข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรอง
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Screening) เป็นการตรวจภายในหรือที่เรียกว่า การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูก โดยจะนำเซลล์เหล่านั้นมาตรวจเพื่อค้นหาเซลล์มะเร็งการเตรียมความพร้อมก่อนตรวจคัดกรอง
มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม
“การเป็นโรคมะเร็งขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคล อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือคนในครอบครัว เพราะฉะนั้นตัวเราเองก็มีความเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็ง และคนที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคมะเร็งเลย ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เสี่ยงนะครับ ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลสุขภาพร่างกาย ด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีครับ”
ด้วยความปรารถนาดี
นายแพทย์วิจิตร ตั้งสินมั่นคง
สูติ-นรีแพทย์
เวลาออกตรวจ
วันจันทร์ เวลา 09:00-16:00 น.
วันอังคาร เวลา 09:00-12:00 น.
วันพุธ เวลา 09:00-16:00 น.
วันพฤหัสบดี เวลา 09:00-12:00 น.
วันศุกร์ เวลา 09:00-16:00 น.
แผนกสูตินรีเวชและมะเร็ง
เปิดบริการทุกวัน เวลา 08:00-20:00 น.
โทร 074-200200 ต่อ 274